BLOG Dr. KOB

Dr. KOBSAK POOTRAKOOL A Macroeconomist

  • BlogArticles
  • Interviewsrecent issues
  • Treasuresfrom the web
  • About

December 15, 2011
Posted by KOBSAK (ADMIN)

พอเพียง กับชีวิตเรา

คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร. กอบ

หลายคนเข้าใจผิดว่า “พอเพียง” เป็นเรื่องของคนจน หรือ เกษตรกร

เมื่อหลายปีที่แล้ว เคยมีนักศึกษาที่ทำวิจัยกับผมได้ออกไปสำรวจความเข้าใจของคนทั่วๆ ไปว่า มีความเข้าใจและน้อมนำเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันของแต่ละคนอย่างไร

ครั้งหนึ่งไปเจอคุณป้าคนหนึ่งที่สถานีรถไฟฟ้าที่สยาม เธอก็ถามว่า “ได้ยินเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาก่อนหรือไม่” คุณป้าก็ตอบว่า “เคย” และเมื่อถามๆ ไป ถึงคำถามว่า “เคยนำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันหรือไม่” คุณป้าตอบว่า “พอเพียง ไม่ใช่เรื่องของป้า เป็นเรื่องของเกษตรกร และคนจน”

ด้วยความอยากรู้ นักศึกษาคนนั้นจึงถามต่อไปว่า “ทำไมคิดเช่นนั้น” คุณป้าตอบว่า “จะไม่ให้ป้าคิดเช่นนั้นได้อย่างไร ก็ทุกครั้งที่ป้าเห็นเขาโฆษณาเรื่อง “พอเพียง” ทีไร ก็เห็นแต่ภาพเกษตรกร การปลูกผัก การทำสวน การทำไร่ การทำนา และภาพคนจน แต่ป้ารวยแล้ว ป้าก็เลยคิดว่า พอเพียงไม่ใช่เรื่องของป้า”

พอเพียงเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์กับทุกคน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะความไม่พอเพียงเกิดขึ้นได้เสมอ เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะยากดีมีจน ต่อให้รวยหลายร้อยหลายพันล้าน ก็มีปัญหาจากความไม่พอเพียงได้ จากความโลภเข้าตา มองเห็นแต่กำไร มองโลกแต่ในแง่ที่ดี ลงทุนขยายธุรกิจไปจนเกินกำลังของตนเอง พอมีสิ่งไม่คาดฝันเกิดขึ้น ก็นำไปสู่การล้มละลาย เป็นหนี้เป็นสินล้นพ้นตัว

คนที่พอมีฐานะ พอมีเงิน ก็ไม่พอเพียงได้เช่นกัน จากการใช้จ่ายเกินตัว รูดปริ๊ด รูดปริ๊ด เที่ยวก่อนผ่อนที่หลัง เห็นอะไรก็อยากมี อยากได้ ยิ่งมีบัตรเครดิต ก็ยิ่งรูดเอาเงินอนาคตมาใช้ก่อน แต่พอเกิดสิ่งที่ไม่คาดฝัน (เกิดอุบัติเหตุ หรือลูก สามี ภรรยา พ่อแม่ล้มป่วย) หนี้ที่ก่อไว้ก็กลับมาเป็นภาระ ทำให้ยากลำบากต่อชีวิตของตนและคนรอบข้าง

ยิ่งมีคนมายุ มาส่งเสริม มาชักชวน บอกว่า “ต้องรวยแน่คราวนี้ คนอื่นๆ เขาก็ทำ เขาก็รวยกันไปแล้ว” “ไปเที่ยวกับเราสิ ไม่มีเงินไม่เป็นไร ใช้บัตรรูดได้ เห็นมั๊ย กลับมาแล้วค่อยไปจ่าย ใครๆ ก็ไป จะไม่ไปอยู่คนเดียวได้อย่างไร” ท้ายสุดก็อดไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจว่า คนที่มีแล้ว รวยแล้ว ยิ่งต้องการที่จะน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เช่นกัน

“พอเพียง” ไม่ใช่เรื่องยาก ทุกคนทำได้ เพราะพอเพียงเป็นเรื่องของใจ และไม่ใช่เรื่องการปลูกผักกินเอง

ก้าวแรก เริ่มจากตัวเรา จากเรื่องง่ายๆ คือการใช้ชีวิต ใช้จ่ายอย่างมีสติ รู้ว่าเรามีเท่าไร รู้ว่าใช้จ่ายอะไร (ตรงนี้ ถ้ายังไม่รู้ว่าเราใช้จ่ายไปในสิ่งไหนบ้าง ก็ขอให้ลองทำบัญชีครัวเรือนดูสัก 2-3 เดือน) ตัดสินใจบนหลักว่า  “นกน้อยทำรังแต่พอตัว” มีน้อยก็ใช้น้อย มีมากก็สามารถใช้ให้มากขึ้นได้ สมกับฐานะ แต่ไม่เกินตัว

ถ้าเรารู้จักดำเนินชีวิต รู้จักพอประมาณในการทำธุรกิจ เน้นทำในสิ่งที่เราชำนาญ ทำให้เหมาะกับตนเอง เราก็จะอยู่ในฐานะที่ดี ไม่ตกไปสู่ความลำบาก สามารถยืนอยู่บนขาของตนเองได้อย่างสง่าผ่าเผย

ก้าวที่สอง รู้จักบริหารจัดการความเสี่ยง ลดความไม่แน่นอนในชีวิตของเรา ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ไม่ประมาท รู้จักดูแลป้องกันความเสี่ยงของต้นทุน รายได้ กำไร รวมไปถึงรู้จักลงทุน ถ้าจะเสี่ยง ก็เลือกเสี่ยงอย่างเหมาะสม ไม่สุ่มเสี่ยงเกินไป รู้จักป้องกันไม่ให้วิญญาณนักพนันเข้าสิง ไม่หน้ามืด ตาลาย ไม่มุ่งรวยทางลัด มองหากำไรที่พอประมาณ ชีวิตและธุรกิจของเราจะมั่นคงขึ้นไปอีกระดับ

ก้าวที่สาม เร่งสร้างหลักประกัน สร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเอง เก็บหอมรอมริบ สะสมสินทรัพย์ ลดหนี้ในยามที่เศรษฐกิจดีธุรกิจไปได้ ไม่ก่อหนี้โดยไม่จำเป็น สิ่งเหล่านี้จะช่วยเราได้ในวันหลัง ยามมรสุมมาเยือน เราจะมีร่ม มีชายคาที่จะใช้หลบ มีสายป่านที่ยาว สามารถพยุงตนให้ผ่านช่วงความยากลำบากไปได้ และเมื่อเราสูงอายุ ก็จะมีกินมีใช้ ไม่เป็นภาระ ไม่ต้องไปขอใคร ความยั่งยืนในการใช้ชีวิตและการดำเนินธุรกิจ ก็จะเกิดขึ้น

สามเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนทำอยู่แล้ว มากบ้าง น้อยบ้าง ขอให้ยึดไว้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตและธุรกิจ เพียรทำให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ถ้าทำได้ตามนี้ ก็กล่าวได้ว่า เราตั้งอยู่ในความพอเพียง อันจะนำไปสู่ความสุขของชีวิตอย่างแท้จริง

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันที่ 14 ธ.ค. 54
คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ

6 Comments

Posted Under My Articles

6 Comments

note
December 15, 2011 at 10.10 AM

ดีจังเลยครับ
:-)

rati
December 18, 2011 at 09.09 AM

ดีจังครับ ^^

ประสพฤกษ์
December 21, 2011 at 10.23 PM

ขอบคุณค่ะอาจารย์ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนค่ะ

chai
December 23, 2011 at 03.46 PM

แบ่งปันอีกน่ะครับ จะติดตามครับ..ขอบคุณครับ

ผัดไทย
January 16, 2012 at 11.37 AM

เห็นด้วยกับแนวทาง ทั้งสามก้าวที่อาจารย์กอบแนะนำ
อยากเห็นการปฏิบัติจริง อย่างทั่วถึง ทุกระดับเริ่มจากนักการเมือง รัฐบาล เอกชน ทุกภาคส่วน หน่วยราชการ ข้าราชการ ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ สถาบันการศึกษา ครูอาจารย์ ประชาชนทุกอาชีพ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียงอย่างจริงจัง

Nathamon
July 4, 2012 at 01.54 PM

เห็นด้วยค่ะ

Leave a comment

* = Required

    • Posts
    • Twitter
    • Flickr
     

    ก้าวให...

    My Articles

     

    ถึงเวล...

    My Articles

     

    ภาพแห่...

    My Articles

    AEC 2015 กับอนาคตเศรษฐกิจไทย http://t.co/3eiOFyZi

    follow me on
    twitter

    A New Crop of Weedstrainroad1rose7plamdoorFantasy Land...Teide_160523_6532Statue of, King Kamehameha the Great - Image 176
  • Pages

    • About
  • Categories

    • My Articles
    • My Interviews
    • My Treasures
    • MY AEC มีทางรวย
    • My Comments
  • Archives

    • 2018
      • January
    • 2017
      • August
    • 2016
      • February
      • June
      • October
    • 2015
      • November
    • 2014
      • January
      • March
      • May
      • June
      • August
      • September
    • 2013
      • January
      • February
      • March
      • April
      • May
      • July
      • August
    • 2012
      • January
      • February
      • April
      • May
      • June
      • July
      • August
      • September
      • October
      • November
      • December
    • 2011
      • January
      • February
      • March
      • April
      • May
      • June
      • July
      • August
      • September
      • October
      • November
      • December
    • 2010
      • January
      • February
      • March
      • April
      • May
      • June
      • July
      • August
      • September
      • October
      • November
      • December
    • 2009
      • March
      • April
      • May
      • June
      • July
      • August
      • September
      • October
      • November
      • December
  • Blogroll

    • Themes
  • Subscribe2


     

  • Who's Online

    8 visitors online now
    2 guests, 6 bots, 0 members
    Map of Visitors

This site is using the Handgloves WordPress Theme
Designed & Developed by George Wiscombe Google+

Subscribe via RSS