BLOG Dr. KOB

Dr. KOBSAK POOTRAKOOL A Macroeconomist

  • BlogArticles
  • Interviewsrecent issues
  • Treasuresfrom the web
  • About

July 24, 2012
Posted by KOBSAK (ADMIN)

ถอดรหัสธนาคารกลาง

คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ

สิ่งที่คนตั้งคำถามบ่อยครั้ง ก็คือ สหรัฐจะมีมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องรอบใหม่ ที่เรียกว่า QE3 หรือไม่ โดยเราจะพบว่า ทุกครั้งที่คุณ Bernanke ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐออกมาพูดหรือให้สัมภาษณ์ว่า “ธนาคารกลางสหรัฐพร้อมที่จะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมหากมีความจำเป็นเกิดขึ้น” ตลาดก็มักจะตีความว่า การอัดฉีดสภาพคล่องรอบใหม่ของสหรัฐกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว

หลังจากนั้น นักลงทุนก็จะแย่งกันเข้าไปเก็งกำไรในสินทรัพย์บางอย่าง เช่น หุ้น ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ ทำให้ราคาพุ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ท้ายสุด หลังจากลุ้นกันไปสักพัก เมื่อไม่มีสัญญาณเพิ่มเติมจากธนาคารกลาง ไม่มีการอัดฉีดสภาพคล่องรอบใหม่ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ราคาก็มักจะตกลงมาที่เดิม วนเวียนไปมาเช่นนี้ บ่อยครั้งมาก

หรือบางครั้ง เมื่อนักลงทุนเห็นตัวเลขเศรษฐกิจประกาศออกมาแล้วไม่ดี โดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงาน การว่างงาน การผลิตของสหรัฐ ตลาดก็ชอบทำตัวแปลกๆ โดยตอนเช้าหลังจากเห็นตัวเลขแล้ว ตลาดก็ตก เพราะกลัวเศรษฐกิจจะไปไม่ได้ บริษัทจะไม่มีรายได้อย่างที่เคยคิด แต่พอเวลาผ่านไปสักพัก ความโลภก็เข้าสิง เพราะคิดได้ว่า ถ้าเศรษฐกิจไม่ดีจริง ธนาคารกลางก็น่าจะมีมาตรการออกมาอัดฉีดเพิ่มเติม QE3 จะมา ตลาดก็ปรับตัวพุ่งขึ้นอีกครั้ง

เรียกง่ายๆ ว่า ถ้าเราตามตลาดอย่างใกล้ชิด ก็จะเหนื่อยใจ สับสนอย่างยิ่ง ไม่รู้จะไปทางไหนดี

แล้วจะถอดรหัสธนาคารกลางอย่างไรดี  จึงจะแปลความได้ถูกต้อง  ไม่ต้องเหนื่อยใจไปมา

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่า (1) สิ่งที่คุณ Bernanke พูดออกมานั้น เป็นสิ่งที่ต้องพูดอยู่แล้ว ธนาคารกลางที่ดีก็ต้องพูดอยู่เสมอว่า “หากมีอะไรเกิดขึ้น ก็พร้อมที่จะเข้าไปแก้ไข” “ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี เราพร้อมจะลดดอกเบี้ย” ถ้าเศรษฐกิจดี เราพร้อมขึ้นดอกเบี้ย” ซึ่งประโยคเหล่านี้ ไม่ได้มีความหมายมากไปกว่าการพูดว่า เราจะทำหน้าที่ของเราด้วยมาตรการที่เหมาะสมเมื่อเวลามาถึง ซึ่งไม่ว่าใครเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางของสหรัฐ หรือธนาคารกลางประเทศไหนๆ ก็ต้องพูดเหมือนกัน (จะให้พูดไปได้อย่างไรว่า หากมีอะไรเกิดขึ้น เราจะไม่ทำอะไร ขอให้ทุกคนโชคดี)

ดังนั้น ต้องสรุปฟันธงว่า ถ้าได้ยินใครพูดเช่นนี้ ต้องถือว่าไม่ได้พูด เพราะพูดสิ่งที่เป็นหน้าที่ และเป็นหลักการที่ถูกต้อง เราจึงไม่ควรต้องไปตื่นเต้นอะไรมากเกี่ยวกับคำพูดดังกล่าว (แต่ที่ตลาดชอบตื่นเต้นกับประโยคเหล่านี้ ก็เพราะตลาดเสพ QE จนติดแล้ว ชอบมาก อยากได้อีก พยายามลุ้น พยายามกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐเอาออกมาให้เสพอีก ดังนั้น พอได้ยินอะไรนิด ก็ตีความไปมากมาย พอไม่มีจริง ก็เสียใจ เทขายอีกรอบ)

(2) ธนาคารกลางต้องทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฏหมายของตน หรือตาม Mandates ของตน โดยกฏหมายทุกประเทศจะเขียนไว้ชัดว่า ธนาคารกลางของตนต้องทำอะไรบ้าง เช่น ธนาคารกลางสหภาพยุโรปมีหน้าที่อย่างเดียวคือ ดูแลเงินเฟ้อ แต่ธนาคารกลางสหรัฐเขียนไว้ชัดว่า ต้องดูแล 2 เรื่อง คือ การจ้างงานที่สูงสุดสอดรับกับระดับเงินเฟ้อที่มีเสถียรภาพ และการดูแลเงินเฟ้อไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป (ซึ่งล่าสุดประกาศชัดว่าให้อยู่ประมาณ 2%)

ในจุดนี้ ถ้ายังไม่มีปัญหากับ Mandates ทั้งสอง ก็คือ การจ้างงานยังคงปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ เศรษฐกิจยังไปได้ เงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ต้องการ ก็อย่าไปคาดหวังว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะอัดฉีดอะไรเพิ่มเติม เพราะถ้าพูดไปแล้ว เขายังสอบผ่านในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมา จะให้เขาไปทำอะไรนอกเหนือไปจากหน้าที่ปกติ (ไปเต้นแร้งเต้นกา ไม่รักษาภาพลักษณ์ของการเป็นสุภาพบุรษ/สุภาพสตรี) ก็คงจะไม่เหมาะสม แต่ถ้าเมื่อไรเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มไปไม่ได้ คนตกงานมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เงินเริ่มฝืดอย่างเห็นได้ชัด ตรงนี้จึงจะเป็นจุดที่เราควรค่อยกลับมาคิดว่า QE3 จะมีโอกาสเกิดขึ้นจริง

(3) การตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ ทำผ่านคณะกรรมการ และในคณะกรรมการมีทั้งผู้เห็นด้วยไม่เห็นด้วย ซึ่งในช่วงที่มีการอัดฉีดรอบที่สองออกมานั้น มีกรรมการหลายท่านไม่เห็นด้วย และคิดว่าไม่น่าจะมีผลมากนัก แต่จำใจต้องตามน้ำไป ด้วยเหตุนี้ ในรอบนี้ จึงไม่น่าแปลกใจว่า กรรมการบางท่านออกมาย้ำเสมอว่า ถ้าจะมี QE3 จริง ก็ต้องขอให้กรรมการที่อยากทำ พิสูจน์ความจำเป็นให้เห็นชัดว่า ต้องทำจริงๆ ไม่มีทางเลือก (และต้องชัดยิ่งกว่าตอนที่ทำรอบที่สอง) ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ทำแล้วจะมีผลสำเร็จอย่างที่โฆษณาไว้ (เพราะรอบที่สอง ท้ายสุดแล้ว ไม่ได้ผลมากนัก ดอกเบี้ยไม่ได้ลงอะไรมาก) และยิ่งตอนนี้ ดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐอยู่ต่ำมากแล้ว การอัดฉีดจะไปช่วยอะไรได้ และน่าจะช่วยได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งก็หมายความว่า ถ้าจะเอาชนะใจกรรมการฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกันจริงๆ แล้ว ก็มีทางเดียว ก็คือต้องรอให้มีปัญหาเรื่อง Mandates อย่างเห็นได้ชัด จนไม่สามารถแย้งได้

ก็หวังว่า คำตอบเหล่านี้จะช่วยไขปัญหา ความข้องใจของหลายคนเกี่ยวกับ พฤติกรรมที่แปลกๆ ของตลาด และโอกาสความเป็นไปได้ของการอัดฉีดสภาพคล่องรอบใหม่ของสหรัฐไปได้บางส่วนครับ

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันที่ 12 ก.ค. 55
คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ

7 Comments

Posted Under My Articles

July 16, 2012
Posted by KOBSAK (ADMIN)

To QE3 or not QE3, that is the question

A question that has preoccupied investors over the past year is whether the Federal Reserve Bank will embark on a new round of quantitative easing (QE3). Consequently the slightest signal that could be interpreted as a sign of further easing has been used by investors as an excuse to take a position in the financial markets. This has often resulted in rapid movements in asset prices, with gold in particular moving up by as much as 60-80 dollars/ounce in a day.

Investors’ hopes for QE3 have been repeatedly dashed and this happened again last week. The latest minutes of the Federal Open Market Committee (FOMC) meeting only confirmed that a new round of easing might be imminent; this was, however, enough for asset prices to be depressed once again.

We must grow up and understand that should Federal Reserve Chairman Ben Bernanke come out and say, “We are prepared to take further action as appropriate to promote a stronger recovery” this doesn’t mean much. This is exactly what a good central banker should be saying to the public in a time of crisis. What else can he say?

What is more important is to appreciate two points:

(1) All central banks have specific mandates.  For the European Central Bank (ECB), it is price stability. For the Federal Reserve Bank, it is maximum employment consistent with long-term price stability of around 2%. If the economy continues to expand, unemployment continues to fall, and inflation remains close to the target, there is no reason for the Federal Reserve to engage in additional easing.

(2) The decision-making process at the Federal Reserve is done through the FOMC Committee and this committee is divided into those in favour of QE3 and those against.  So, for QE3, those in favour would have to win over the dissenters who are quite skeptical of the effectiveness of any easing program. Thus, we should not listen to anyone in particular but try to find out the views of each particular member and study how they have changed over time.

For QE3 to come in there must be some real and pressing need in the economy such as a substantial slowdown in economic activity, with the threat of deflation, or a severe crisis in the European Union.

This is exactly what we should be looking for in our search for QE3.

ที่มา: Bangkok Post’s Business Section – 16 July 2012

No Comments

Posted Under My Articles

July 12, 2012
Posted by KOBSAK (ADMIN)

การเตรียมการสำหรับวิกฤติของสหภาพยุโรป

ช่วงนี้หน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ มักจะพาดหัวข่าวเกี่ยวกับวิกฤติในสหภาพยุโรป กับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอยู่เป็นประจำ ทำให้หลายคนอยากรู้ต่อไปว่า “วิกฤติครั้งนี้จะกระทบต่อไทยแรงแค่ไหน และเราควรเตรียมการอย่างไร”

จะแรงแค่ไหน

การเตรียมการที่เหมาะสม ต้องเริ่มจากคำถาม “วิกฤติครั้งนี้ จะคล้ายกับครั้งไหน”  ก่อนอื่น รอบนี้ไทยจะไม่เป็นต้มยำกุ้ง เพราะต้มยำกุ้งเป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นจากปัญหาภายในประเทศของเราเอง จากการใช้จ่ายเกินตัว จากความเปราะบางที่สะสมเอาไว้มาก พอเกิดวิกฤติ ทุกอย่างจึงล้มลงอย่างระเนระนาด

ปัญหาครั้งนี้ มีสาเหตุสำคัญมาจากต่างประเทศ เกิดขึ้นในขณะที่ Balance sheet ของภาคส่วนต่างๆ ของไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก ซึ่งสถานการณ์มีบริบทคล้ายๆ กับสิ่งที่เราเคยเผชิญมาแล้วเมื่อ 4 ปีก่อน โดยครั้งนั้น ยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบเศรษฐกิจโลก คือ สหรัฐ ล้มลง เราจึงพลอยเซ ได้รับผลกระทบไปด้วย ส่วนครั้งนี้ ยักษ์ใหญ่อันดับ 3 ของโลก หรือ ยุโรปกำลังมีปัญหา เมื่อยักษ์ตัวนี้ล้มลง เราก็จะเซไปด้วยเช่นกัน แต่เนื่องจากยักษ์ตัวนี้เล็กกว่า ผลกระทบก็จะน้อยกว่า

สำหรับสิ่งที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับปี 2008 ก็คือ

1. Surprise Factor ตอนที่ Lehman Brothers ล้ม และตามมาด้วย Citibank, Bank of America, AIA และสถาบันการเงินขนาดใหญ่อีกหลายแห่ง กล่าวได้ว่า ทุกคนต่างตกใจ ต่างไม่ได้เตรียมการมาก่อน ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น (Aftershocks) จึงมีความรุนแรงอย่างยิ่ง ทำให้สถาบันการเงินในหลายประเทศ ต้องเร่งปรับลดการให้สินเชื่อ ลดขนาดของพอร์ตตนเองลง เร่งหาสภาพคล่องมาเตรียมไว้เพื่อให้สามารถอยู่รอดให้ได้

ครั้งนี้ ทุกคนมีเวลาเตรียมการมา 2 ปีกว่าๆ นับแต่เกิดปัญหาในกรีซ ทำให้ทุกคนสามารถเตรียมการได้ดีพอสมควร โดยเฉพาะในส่วนสภาพคล่อง พร้อมกับได้ปรับพอร์ตลด Position เรียบร้อยไปแล้วระดับหนึ่ง ซึ่งหมายความว่า หากยุโรปล้มลงวันนี้ Aftershocks จะไม่รุนแรงเท่ากับรอบที่แล้ว

2. วงของปัญหา จากเวลาที่มีและการเตรียมการของทุกคน มีความหมายต่อไปว่า ปัญหารอบนี้จะหนักหน่วงที่ยุโรปเป็นสำคัญ เนื่องจากผู้ที่เคยไปปล่อยกู้หรือลงทุนในยุโรป สามารถออกตัวไปมากพอสมควรแล้วในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งยิ่งสหภาพยุโรปตัดสินใจเข้าอุ้มแบงก์ อุ้มประเทศที่เกิดปัญหา พยายามยื้อปัญหา พยายามซื้อเวลาเอาไว้อย่างเช่นที่ทำอยู่ นักลงทุนและสถาบันการเงินที่เข้าไปลงทุนในช่วงก่อนหน้า ก็จะสามารถ Exit ออกมาได้ โดยมีรัฐบาล ธนาคารกลาง หรือกองทุนช่วยเหลือของสหภาพยุโรปเข้ามารับแทน ดังนั้น ปัญหารอบนี้ ไม่น่าจะกระจายวงกว้างเท่ากับที่เกิดขึ้นเมื่อ 4 ปีที่แล้ว

3. ความสามารถของผู้ที่จะมาช่วย ที่เศรษฐกิจโลกสามารถฟื้นตัวได้ โดยใช้เวลาไม่นานหลังเกิดวิกฤติที่สหรัฐอเมริกา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการร่วมมือกันกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ที่ยอมใช้จ่ายขาดดุลเพิ่มเติม และลดดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ ชัดเจนว่า ประเทศส่วนใหญ่ในสหภาพยุโรปจะไม่สามารถเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มกำลังเหมือนครั้งที่แล้ว (จากปัญหาหนี้ภาครัฐที่กำลังเผชิญอยู่) อีกทั้ง ECB ก็มี Room อีกไม่มากในการลดดอกเบี้ยและอัดฉีดสภาพคล่องให้กับระบบ จากการที่ได้อัดฉีดสภาพคล่องช่วยเหลือไปมากแล้วในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่า วิกฤติภายในสหภาพยุโรปรอบนี้จะกินเวลายาวนานพอสมควร

ผลกระทบต่อประเทศไทยและการเตรียมการ

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและกระทบมาถึงไทยนั้น จะเข้ามาในช่องทางที่คล้ายคลึงกับเมื่อปี 2008 โดยเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบผ่าน (1) กลุ่มผู้ส่งออก ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤติครั้งนี้ (2) ความผันผวนของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดการเงิน ตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ที่จะเพิ่มขึ้น (3) สภาพคล่องที่จะไหลย้อนกลับไปที่สหภาพยุโรปในบางช่วงเวลา และ (4) นักท่องเที่ยวที่จะหายไป โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากยุโรป

ปัญหาเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เมื่อปี 2008 เราก็เคยได้รับผลกระทบในลักษณะเดียวกัน เพียงแต่ครั้งนี้ เนื่องจากปัญหาจะหนักหน่วงที่ยุโรปเป็นสำคัญ ไม่กระจายวงกว้าง ไม่ล้มกันเป็น Domino ไปทั้งโลก ทุกภูมิภาค ดังนั้น ผู้ส่งออกจะมีทางเลือกในการหาตลาดอื่นมาทดแทน โดยเฉพาะตลาดในเอเชียที่ยังจะพอไปได้ ซึ่งยิ่งวิกฤติที่จะเกิดในสหภาพยุโรปจะมีความยาวนานมากกว่าปกติ ผู้ส่งออกที่เน้นตลาดสหภาพยุโรปเป็นสำคัญ ก็ยิ่งต้องคิดที่จะหาทาง Diversify ไปตลาดอื่นแทน

ส่วนผลกระทบอื่นๆ นั้น จะเกิดเป็นครั้งคราว โดยค่าเงินบาทจะผันผวนเป็นพิเศษในช่วงต่อไป อ่อนค่ามากในช่วงที่วิกฤติกำลังลุกลามในยุโรป แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อยุโรปยอมถอย มีมาตรการออกมา สลับไปมา ยืดเยื้อไม่จบลงง่ายไปอีกระยะ ก่อนที่วิกฤติจะบานปลายไปมากกว่านี้ โดยความแรงของวิกฤตินั้น ขณะนี้ คิดว่าน่าจะประมาณครึ่งหนึ่งของเมื่อปี 2008 เนื่องจากการกระจายตัวจะไม่กว้างขวางเท่ากับเมื่อครั้งที่แล้ว (แต่ถ้ายื้อกันเอาไว้นาน ไม่ยอมแพ้สักที ท้ายสุด ผลกระทบก็อาจจะแรงกว่าที่คิดไว้ได้ ก็ต้องไม่ประมาท)

ด้วยเหตุนี้ ถ้าจะว่าไปแล้ว การเตรียมการของภาครัฐและเอกชนรอบนี้ จึงมี Playbook จาก 2008 มาเป็นตัวช่วย โดยครั้งนั้น วิกฤติสหรัฐ วิกฤติยักษ์ตัวใหญ่ล้ม เป็นสิ่งที่เราไม่เคยประสบมาก่อน การแก้ไขปัญหาจึงต้องทำประเภทคิดไปทำไป แต่รอบนี้ กล่าวได้ว่า ประสบการณ์จากปี 2008 จะเป็นตัวช่วยสำคัญ

อะไรที่เราทำได้ดีเมื่อครั้งที่แล้ว ในส่วนของเอกชน เช่น การหาตลาดใหม่ การใช้เงินตราสกุลท้องถิ่นในการชำระเงิน การทำ FX Hedging การพยายามลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สิ่งเหล่านี้ก็ต้องขอให้ทำใหม่

อะไรที่เราพลาดไป เช่น เสียหายจากราคาวัตถุดิบที่ผันผวนมากจากการ Stock สินค้าไว้มาก จาก Order ที่ลูกค้าไม่ยอมจ่ายเงินเข้าช้อนหุ้นเร็วเกินไป จนช้อนหัก ก็ขอให้นำมาเป็นบทเรียน เรียนรู้ที่จะป้องกันความเสี่ยงจากการเหวี่ยงของราคาวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ราคาทองคำ Stock สินค้าไว้แต่พอประมาณ เรียนรู้ที่จะป้องกันความเสี่ยงจากการส่งสินค้าให้กับลูกค้าในประเทศที่เกิดปัญหา และอดใจรอ

อะไรที่เราคิดได้ช้าไป ทำไม่ทัน ครั้งนี้ก็จะเป็นโอกาส ให้ได้นำข้อคิดดังกล่าวมาใช้ อาทิ กว่าจะเริ่มลงทุนใหม่ ก็ช้าไปเสียแล้ว เศรษฐกิจฟื้นไปไกลแล้ว โดยรอบนี้ก็เช่นกัน หลังจากมรสุมยุโรป ซึ่งแม้จะยืดเยื้อบ้าง ได้ผ่านไปแล้ว เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทย ก็น่าจะสดใส สามารถฟื้นกลับมาได้อย่างรวดเร็ว และเป็นกลุ่มประเทศที่น่าสนใจในการลงทุนที่สุดของโลก

สำหรับภาครัฐ มาตรการดีๆ ที่เคยออกมา เช่น การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ ไทยเข้มแข็ง 1 และ 2 การลดดอกเบี้ยนโยบาย การปล่อยให้ค่าเงินอ่อนลง การออกมาตรการช่วยค้ำประกันสินเชื่อให้กับ SME การช่วยประกันสินเชื่อส่งออก เป็นต้น ก็ควรที่จะเตรียมมาตรการเหล่านี้ไว้แต่เนิ่นๆ

ถ้าเราทุกคนหมั่นทบทวนบทเรียนที่ได้จากปี 2008 รู้จักนำบทเรียนมาใช้เตรียมการเพื่อรับมือกับวิกฤติรอบนี้โดยไม่ประมาท เราก็น่าจะสามารถผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ ขอเอาใจช่วยครับ

ที่มา : คอลัมน์ อนาคตเศรษฐกิจไทย
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ประจำเดือนกรกฏาคม 2555

6 Comments

Posted Under My Articles

July 9, 2012
Posted by KOBSAK (ADMIN)

Implications of the latest EU Summit

The financial markets cheered the EU leaders’ decision at their latest Summit on 29 June 2012 to reverse their long-standing policies that stressed the importance of austerity, fiscal discipline, and  each national government shouldering individual responsibility for what went wrong in their own country.  Nevertheless, many questions remain unanswered.  How will the new banking supervisory body, which will oversee the process of injecting new capital to distressed banks in the EU, be set up? Who will bear the burden of losses from such an operation should it occur?  How will the ESM and ESFS handle the additional demand placed on their limited funds?

Right now the ESFS has around €220 billion that remains after the bailout of Greece, Ireland and Portugal.  The ESM has firepower of €500 billion.  Faced with the task of recapitalizing weak banks in the Eurozone, intervening in bond markets to keep Spanish and Italian government bond yields within acceptable ranges, and funding possible bailouts of Spain and then maybe Italy, these available funds will not be adequate.

Last year, the ECB spent more than €200 billion on its bond-purchasing program without long-lasting results.  How much then can the two rescue funds spend on their intervention of the bond markets?  Will they fare better than the ECB in so doing?  It is only a matter of time before the markets test this new arrangement and find unwanted answers.

In the final analysis, these welcome steps taken by the latest EU Summit will provide only temporary relief.  More hard work is needed and more volatility in the global financial markets is waiting down the road before this economic storm subsides.

ที่มา: Bangkok Post’s Business Section – 9 July 2012

3 Comments

Posted Under My Articles

July 6, 2012
Posted by KOBSAK (ADMIN)

นัยของ EU Summit

คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คนให้ความสนใจกับผลการประชุมของ อียู ซัมมิท กันมาก และมองว่าผลการประชุมครั้งนี้เป็นความคืบหน้าครั้งสำคัญของยุโรปในการแก้ไขปัญหา โดยตลาดการเงินโลกได้ปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในวันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นอิตาลีเพิ่มขึ้น 6.6% ตลาดหุ้นสเปนเพิ่มขึ้น 5.7% ตลาดหุ้นฝรั่งเศสเพิ่มขึ้น 4.8% ตลาดหุ้นเยอรมนีเพิ่มขึ้น 4.3% ราคาน้ำมันโลกก็ถีบตัวสูงขึ้น 9.4% ราคาทองคำเพิ่มขึ้นเป็น 1,600 ดอล ลาร์/ออนซ์ หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 50 ดอลลาร์ และค่าเงินยูโรเพิ่มจาก 1.24 ดอลลาร์/ยูโรเป็น 1.27 ดอลลาร์/ยูโร

วันนี้ จึงขอมาวิเคราะห์ให้ฟังว่า ผลการประชุมดังกล่าวมีนัยสำคัญอะไรบ้าง และต่อไปยังมีประเด็นท้าทายอะไรรอเราอยู่

1. การประชุมดังกล่าวเป็นครั้งแรกที่นายกรัฐมนตรีมาร์เคล ของเยอรมนีพ่ายแพ้ต่อคำเรียกร้องของประเทศอื่น ๆ โดยที่ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี ประเทศที่ใหญ่อันดับ 2, 3 และ 4 ของยุโรป รวมตัวกันเรียกร้องให้เยอรมนียอมผ่อนปรนเงื่อนไขบางเรื่องที่ตั้งไว้ และเป็นข้อจำกัดสำคัญในการแก้ไขปัญหาในช่วงที่ผ่านมา ตรงนี้ถ้าจะพูดไป นับเป็นครั้งแรกที่เยอรมนียอมถอยมากขนาดนี้ ตั้งแต่เกิดวิกฤติเป็นต้นมา ซึ่งทำให้นายกรัฐมนตรีมาร์เคลต้องเสียคะแนนในประเทศของตนเองไปมากเช่นกัน

2. เรื่องที่ยอมถอยมีอยู่ 5 เรื่อง

  • การที่สหภาพยุโรปจะเข้าไปเพิ่มทุนให้กับแบงก์ที่มีความเสียหายโดยตรง โดยที่ไม่ต้องบังคับให้รัฐบาลเป็นผู้กู้ยืมก่อน เพื่อไปช่วยแบงก์ของตน ตรงนี้จะช่วยทำให้ปัญหาแบงก์ล้ม กับปัญหาหนี้สินของรัฐบาลแยกออกจากกันได้ และปัญหาไม่พันกันไปมาเหมือนกับในช่วงที่ผ่านมา
  • การที่สหภาพยุโรปจะใช้เงินจากกองทุนช่วยเหลือของตนเข้าไปช่วยซื้อพันธบัตรของประเทศที่มีปัญหา เช่น สเปน อิตาลี เพื่อกดดอกเบี้ยไว้ไม่ไห้เพิ่มสูงจนเกินไป
  • การที่สหภาพยุโรปจะยอมไม่ขอสิทธิได้รับการชำระเงินคืนก่อนเจ้าหนี้เอกชน หากเกิดปัญหาขึ้น
  • การที่จะอนุญาตให้ประเทศที่ประสบปัญหาได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป หากได้พยายามแก้ไขดำเนินมาตรการตามที่สหภาพยุโรปเสนอแนะไปเรียบร้อยแล้ว โดยไม่ต้องมี ไอเอ็มเอฟ เข้ามาร่วมด้วย
  • การให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจให้มากขึ้น โดยมีการตกลงกันที่จะมีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.2 แสนล้านยูโร ตามข้อเสนอของฝรั่งเศส หมายถึง การที่ยุโรปจะลดความสำคัญของการรัดเข็มขัดลง (ตรงนี้เป็น ผลจากการที่ฝรั่งเศสมีประธานาธิบดีคนใหม่)

3. นอกจากนี้ ยุโรปจะใช้โอกาสนี้ หลอมรวมกันให้มากขึ้น โดยจะจัดตั้งหน่วยงานที่จะมากำกับดูแลสถาบันการเงินในยูโรปแห่งใหม่ภายในต้นปีหน้า ตามข้อเสนอของเยอรมนี โดยคาดกันว่าท้ายที่สุดแล้ว ธนาคารกลางของสหภาพยุโรปที่มีชื่อเสียงด้านความเข้มงวดจะได้รับอำนาจนี้ไปดูแล โดยหน่วยงานแห่งนี้จะเป็นผู้อนุมัติเงินช่วยเหลือที่จะนำไปใช้เพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินต่าง ๆ

กล่าวได้ว่า การประชุม อียู ซัมมิท รอบนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งสัญญาณถึงอำนาจในยุโรปที่เริ่มสมดุลมากขึ้น จากในช่วงแต่ก่อนที่เยอรมนีเป็นผู้กำหนดชะตากรรมของทุกคน (โดยความเห็นชอบสนับสนุนของฝรั่งเศส) มาเป็นการต่อรองที่สมดุลกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การยอมถอยในประเด็นทั้ง 4 เรื่องข้างต้น ไม่ได้หมายความว่าปัญหาของยุโรปจะจบลงไป เพราะยังเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ เอาเงินเข้าไปถมเท่านั้น

หลายคนตั้งคำถามต่อไปว่า (1) ถ้าจะเอาเงินที่มีไปช่วยซื้อพันธบัตร อุ้มแบงก์ อุ้มประเทศต่าง ๆ แล้ว เงินที่มีเหลืออยู่ 4-5 แสนล้านยูโร จะเพียงพอหรือไม่ ยิ่งถ้าสเปน อิตาลีมีปัญหาในที่สุด จะทำอย่างไร (2) ถ้าช่วยแล้ว เกิดเสียหายไป (เช่นไปเพิ่มทุนแบงก์ แต่ท้ายที่สุดแบงก์ล้มไป) ใครจะเป็นผู้รับความเสียหาย ซึ่งถ้าประเทศที่มาช่วยเหลือต้องแบกรับไป ประชาชนของประเทศเหล่านั้นจะรับได้หรือไม่ (3) ถ้าไม่ให้ ไอเอ็มเอฟ เข้าไปช่วยดูแล ไม่กำหนดเงื่อนไข แล้ว ไอเอ็มเอฟ จะจ่ายเงินเข้าไปช่วยได้อย่างไร ซึ่งหมายความว่า เงินจากประเทศนอก อียู จะเข้าไปช่วยอุ้มไม่ได้ ถ้าเงินไม่พอจะทำอย่างไร และ (4) ครั้งหน้า นายกรัฐมนตรีมาร์เคลของเยอรมนีจะยอมง่ายเหมือนครั้งนี้อีกหรือไม่

ทั้งหมดนี้ เป็นคำถามสำคัญที่ยังไม่มีคำตอบ ก็ได้แต่เอาใจช่วยยุโรป และหวังว่านักลงทุนที่หลงดีใจ จะไม่เปลี่ยนใจกันและเตรียมวิ่งหนียุโรปกันอีกรอบ ก็ขอเอาใจช่วยให้ยุโรปแก้ไขปัญหาได้ครับ

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันที่ 5 ก.ค. 55
คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ

6 Comments

Posted Under My Articles

    • Posts
    • Twitter
    • Flickr
     

    ก้าวให...

    My Articles

     

    ถึงเวล...

    My Articles

     

    ภาพแห่...

    My Articles

    AEC 2015 กับอนาคตเศรษฐกิจไทย http://t.co/3eiOFyZi

    follow me on
    twitter

    EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-15EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-7EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-28EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-23EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-3EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-9EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-6EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-19EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-25
  • Pages

    • About
  • Categories

    • My Articles
    • My Interviews
    • My Treasures
    • MY AEC มีทางรวย
    • My Comments
  • Archives

    • 2018
      • January
    • 2017
      • August
    • 2016
      • February
      • June
      • October
    • 2015
      • November
    • 2014
      • January
      • March
      • May
      • June
      • August
      • September
    • 2013
      • January
      • February
      • March
      • April
      • May
      • July
      • August
    • 2012
      • January
      • February
      • April
      • May
      • June
      • July
      • August
      • September
      • October
      • November
      • December
    • 2011
      • January
      • February
      • March
      • April
      • May
      • June
      • July
      • August
      • September
      • October
      • November
      • December
    • 2010
      • January
      • February
      • March
      • April
      • May
      • June
      • July
      • August
      • September
      • October
      • November
      • December
    • 2009
      • March
      • April
      • May
      • June
      • July
      • August
      • September
      • October
      • November
      • December
  • Blogroll

    • Themes
  • Subscribe2


     

  • Who's Online

    6 visitors online now
    2 guests, 4 bots, 0 members
    Map of Visitors

This site is using the Handgloves WordPress Theme
Designed & Developed by George Wiscombe Google+

Subscribe via RSS