BLOG Dr. KOB

Dr. KOBSAK POOTRAKOOL A Macroeconomist

  • BlogArticles
  • Interviewsrecent issues
  • Treasuresfrom the web
  • About

August 30, 2011
Posted by KOBSAK (ADMIN)

สัปดาห์ของความผันผวนในตลาดการเงินโลก

คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร. กอบ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากสหรัฐถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจาก AAA เป็น AA+ ตลาดการเงินโลกก็เกิดความผันผวนอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 วันแรก วันนี้ ก็ขอมองย้อนกลับไปดูสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่กำลังขับเคลื่อนตลาดอยู่ และนัยในช่วงต่อไป

หลังสหรัฐ ถูกลดอันดับ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

ผลกระทบที่เกิดขึ้น เกิดอย่างกว้างขวาง ทั้งในตลาดหุ้น ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน และตลาดพันธบัตร เรียกได้ว่า มีความผันผวนอย่างที่ไม่ได้เห็นมานับเป็นเวลา 3 ปีแล้ว ตั้งแต่ที่เกิดวิกฤติที่สหรัฐครั้งที่แล้ว ทำให้นักลงทุนจำนวนมาก ต้องกังวลใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และเริ่มตั้งคำถามว่า “จะเกิดวิกฤติอีกรอบหรือไม่”

(more…)

4 Comments

Posted Under My Articles

August 26, 2011
Posted by KOBSAK (ADMIN)

ผลกระทบจากการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ

คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร. กอบ

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทางสถาบันจัดลำดับความน่าเชื่อถือ S&P ได้ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือ (Rating) ของสหรัฐ ลงจาก AAA เป็น AA+ ส่งผลให้เกิดความผันผวนรอบใหญ่ขึ้นในตลาดการเงินโลก หลายคนจึงอยากรู้ว่า “ทำไมต้องมีการปรับลดอันดับลง”  “นัยคืออะไร”  และ “ทำไมสหรัฐจึงถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลง ทั้งที่ได้ผ่านกฎหมายเพิ่มระดับเพดานหนี้ เรียบร้อยตั้งแต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว”

ขอเริ่มจากสิ่งที่ S&P ประกาศออกมาก่อน ซึ่งประกอบด้วย (1) การประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาว ของสหรัฐลงมา 1 อันดับจาก AAA เป็น AA+ (2) คงอันดับความน่าเชื่อถือในระยะสั้นของสหรัฐไว้ตามเดิม ที่ A-1+ ซึ่งนับเป็นระดับที่ดีที่สุด และ (3) เตือนว่าจะติดตามการดำเนินนโยบายภาครัฐของสหรัฐอย่างใกล้ชิดต่อไป ซึ่งหากสหรัฐยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายอย่างน่าพอใจ ก็อาจจะลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีกรอบ เป็น AA ในช่วง 2 ปีข้างหน้า

(more…)

5 Comments

Posted Under My Articles

August 25, 2011
Posted by KOBSAK (ADMIN)

บทเรียนจากสหรัฐและยุโรป

ยิ่งเวลาผ่านไป ปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐและยุโรปก็ดูเหมือนจะลุกลาม รุนแรงมากขึ้น

โดยเฉพาะในกรณีของการปรับขึ้นเพดานกู้ยืมหนี้ภาครัฐในสหรัฐอเมริกา ที่ยืดเยื้อ ตกลงกันไม่ได้ จนกระทั่งถึงต้นสัปดาห์นี้จึงจะมีคำตอบ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทางก็ได้เป็นประเด็น ที่จุดประกายให้ตลาดเริ่มหันกลับมามองประเด็นเรื่องความเข้มแข็งของฐานะการคลังสหรัฐในระยะยาว และพูดถึงการปรับลดอันดับเครดิตลงจาก AAA เป็น AA+ รวมไปถึงกรณีการช่วยเหลือกรีซรอบที่สอง ของทางการสหภาพยุโรป ที่ใช้เวลานานมาก ทะเลาะกันไปมาในการหาทางออก จนทำให้วิกฤติลุกลาม ซ้ำเติมให้สถานการณ์ในสเปนและอิตาลีเริ่มน่าเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ

บทเรียนสำคัญจากทั้งสองประเทศคืออะไร

หนึ่ง – เราต้องไม่ประมาทเรื่องหนี้ของภาครัฐ บทเรียนสำคัญของปัญหาในสหภาพยุโรป ก็คือ อย่ามีหนี้ภาครัฐมากเกินไป เพราะจะเป็นจุดอ่อนให้นักเก็งกำไร ใช้มาเป็นสาเหตุในการสร้างบ่มความกลัว และชักชวนกันมาโจมตีเพื่อทำกำไรได้ เช่น กรณีของกรีซที่มีหนี้ภาครัฐที่ประมาณ 127.1% ของ GDP เมื่อปีที่แล้ว สูงสุดในยุโรป ทำให้กรีซกลายเป็นเป้านิ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันว่า จะต้องมีปัญหาเกิดขึ้น และกลายเป็นเหยื่อรายแรกของประเทศในกลุ่มลูกหมู

(more…)

5 Comments

Posted Under My Articles

August 24, 2011
Posted by KOBSAK (ADMIN)

เป้าหมายเงินเฟ้อ และการขึ้นดอกเบี้ยของแบงก์ชาติ

คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร. กอบ

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นเศรษฐกิจในประเทศที่หลายคนพูดถึงกันมาก ก็คือ เป้าหมายเงินเฟ้อของแบงก์ชาติ ที่ทางรัฐบาลบอกว่าควรจะมีการปรับเปลี่ยน เพื่อช่วยชะลอการขึ้นดอกเบี้ย อันจะเป็นการช่วยลดต้นทุนให้กับประชาชนและผู้ประกอบการในภาวะที่ค่าครองชีพกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น วันนี้ ก็อยากจะมาวิเคราะห์ให้ฟังว่าเรื่องนี้ มีความเป็นมาอย่างไร และทางออกคืออะไร

ก่อนอื่นเราต้องเริ่มจากความเข้าใจที่ว่า “ทำไมต้องมีเป้าหมายเงินเฟ้อ”

ตรงนี้ ต้องย้อนกลับไปในอดีต แบงก์ชาติของทุกประเทศมีหน้าที่ดูแลรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อ ค่าเงิน ความมั่นคงของสถาบันการเงิน รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤต แต่บ่อยครั้ง เราก็ยังมีคำถามอยู่ในใจว่า “เป้าหมายหลักในการดำเนินนโยบายของแบงก์ชาติคืออะไร อะไรสำคัญที่สุด จะวัดผลในการดำเนินการ จะดูที่ตัวไหน และถ้ามีอะไรเกิดขึ้น แบงก์ชาติจะตอบสนองอย่างไร”

(more…)

2 Comments

Posted Under My Articles

August 22, 2011
Posted by KOBSAK (ADMIN)

ความโปร่งใสในการดำเนินนโยบายการเงิน

คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร. กอบ

หลายคนชอบถามว่า ทำไมแบงก์ชาติประเทศต่างๆ ต้องออกมาให้ความคิดเห็นอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยหรือนโยบายการเงิน

ในอดีต แบงก์ชาติมักจะสงวนท่าที อยู่อย่างเงียบๆ โดยไม่ค่อยให้ความคิดเห็น ส่วนหนึ่งก็เพราะแนวคิดในการดำเนินนโยบายในยุคดังกล่าว คือ การรักษาความลับและ Surprise ตลาด เพื่อให้ทุกอย่างขยับไปในทิศทางที่ตนเองต้องการ

แต่ล่าสุด แนวคิดดังกล่าวได้เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด โดยแบงก์ชาติและคณะกรรมการนโยบายการเงินได้กลับมาให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความโปร่งใสในการดำเนินนโยบาย เพื่อส่งสัญญาณให้ตลาดเข้าใจว่า ตนเองคิดอย่างไร เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ปัจจัยเสี่ยง และทิศทางดอกเบี้ยในช่วงต่อไป

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะความชัดเจนในการดำเนินนโยบาย จะช่วยให้ประสิทธิผลของนโยบายดีขึ้น และ “ความลับ” จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Policy Uncertainty หรือความไม่แน่นอนเชิงนโยบายเกิดขึ้นในระบบอย่างไม่จำเป็น ทำให้ตลาดต้องพยายามเดาใจว่าแบงก์ชาติจะเอาอย่างไรกันแน่

(more…)

4 Comments

Posted Under My Articles

August 19, 2011
Posted by KOBSAK (ADMIN)

กระบวนการปรับดอกเบี้ยนโยบาย

คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร. กอบ

ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา ธนาคารกลางหลายแห่งได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ เช่น อินเดีย จีน เกาหลี ไต้หวัน เป็นต้น ไทยก็เช่นกัน แบงก์ชาติของเราได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% เมื่อกลางสัปดาห์ที่แล้ว จากความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อ ความกังวลใจเรื่องความเปราะบางทางการเงินที่อาจจะสะสมตัวขึ้นหากยังคงดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำต่อไป และความตั้งใจที่จะให้ดอกเบี้ยในระบบกลับไปสู่ระดับปกติอีกครั้ง หลังจากความจำเป็นที่จะต้องใช้ดอกเบี้ยต่ำในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้หมดไป นำไปสู่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ และเป็นจุดเริ่มต้นของดอกเบี้ยขาขึ้นรอบใหม่ที่จะเห็นได้ชัดในช่วงปีนี้

ตรงนี้หลายคนคงอยากทราบว่าจะขึ้นดอกเบี้ยกันอีกหรือไม่ ในช่วงปีนี้

ถ้าถามคำถามนี้กับแบงก์ชาติ ปกติแล้วคำตอบที่ได้ก็คือ ในการประชุมทุกครั้ง คณะกรรมการนโยบายการเงินจะดูแนวโน้มเงินเฟ้อและเศรษฐกิจ ประกอบกับข้อมูลล่าสุดว่า “เงินเฟ้อเป็นปัญหาหรือไม่” “เศรษฐกิจโดยรวมไปได้หรือไม่” “ความเสี่ยงคืออะไร” เพื่อนำมาสู่การตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยเป็นครั้งๆ ไป

(more…)

6 Comments

Posted Under My Articles

August 3, 2011
Posted by KOBSAK (ADMIN)

การคุ้มครองเงินฝาก

คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร. กอบ

ในวันที่ 11 สิงหาคมนี้ พรบ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก จะเริ่มส่งผลเป็นครั้งแรก หลังจากได้ผ่อนผัน พลัดวันกันมา นับสักพักหนึ่งแล้ว ซึ่งหมายความว่า นับแต่นี้ต่อไป “เงินฝากในแต่ละแบงก์ของเราจะได้รับความคุ้มครองแบบไม่เต็มจำนวน” และ “คนที่มีเงินฝากมากจะต้องระมัดระวังตัวเพิ่มขึ้นในการฝากเงิน” โดยปีแรก ทุกคนจะได้รับการดูแลไม่เกินคนละ 50 ล้านบาท และในปีถัดไป ความคุ้มครองก็จะลดลงเหลือเพียงคนละ 1 ล้านบาท เงินฝากส่วนที่เกินจากจำนวนนี้ไป อาจจะได้รับคืนไม่เต็มจำนวน หรือไม่ได้คืน หากเกิดปัญหาขึ้น

ทำไมถึงต้องมีการคุ้มครองเงินฝาก

ถ้าเรายังจำกันได้ ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาสถาบันการเงินล้มหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญ ๆ ก็กรณีบริษัทราชาเงินทุนล้มเมื่อปี 2522 ตามมาด้วยวิกฤตทรัสต์ล้ม ที่บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์อีก 20 แห่งต้องถูกปิดกิจการไประหว่างช่วงปี 2526-28 และครั้งล่าสุดเมื่อปี 2540 แบงก์กรุงเทพพาณิชย์การ ศรีนคร นครหลวงไทย แหลมทอง และสหธนาคาร รวมทั้งบริษัทเงินทุน เงินทุนหลักทรัพย์ และเครดิตฟองซิเอร์ ที่ต้องปิดกิจการไปอีกจำนวนมาก สร้างความแตกตื่นให้กับทุกคน

ยิ่งหลังจากสถาบันการเงินเหล่านี้ล้มลง ผู้ฝากเงินบางส่วนได้รับเงินคืนเพียง 20% (ในกรณีบริษัทราชาเงินทุน) บางคนได้รับเงินต้นครบ แต่ต้องอดทนรอถึง 10 ปี โดยไม่ได้รับดอกเบี้ย (ในกรณีวิกฤตทรัสต์ล้ม) และบางคนได้รับเงินต้นครบ บวกดอกเบี้ย แต่ก็ต้อง 5 ปีก่อนจะได้เงินต้นทั้งก้อนคืน (ในกรณีวิกฤตต้มยำกุ้ง) ประสบการณ์เหล่านี้ ทำให้ผู้ฝากเงินมีความสับสน ความกังวลอยู่ในใจเสมอมาว่า ถ้าแบงก์ของตนมีปัญหา แล้วจะได้เงินฝากคืนหรือไม่ ซึ่งก็ได้แค่พยายามพูดปลอบใจตนเองตอนที่เสี่ยงฝากเงินว่า “ไม่เป็นไร ถ้าเกิดปัญหา รัฐบาลจะช่วยดูแล”

ไม่น่าแปลกใจว่า สำหรับผู้ฝากเงินที่เลือกฝากโดยยึดหลักว่า “ใครให้ดอกสูงก็ฝากคนนั้น” ครั้นมีสัญญาณว่าปัญหากำลังจะเกิดขึ้น หลายคนก็จะเร่งไปถอนเงินกันออกมา ปัญหาก็ยิ่งลุกลาม ส่วนคนที่ถอนเงินไม่ทัน เพราะรู้ทีหลัง ช้ากว่าคนอื่น ก็ได้แต่มานั่งเสียใจ ลุ้นว่าจะได้เงินฝากของเราคืนหรือไม่ ด้วยเหตุนี้ ทางการจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความชัดเจนให้เกิดขึ้น โดยหลักการสำคัญมีอยู่ 3 ด้านหลักๆ

หนึ่ง – ปกป้องผู้ฝากรายย่อย โดยเฉพาะผู้ฝากที่มีเงินไม่มากนักเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้จำกัด  อีกทั้งยังไม่สามารถติดตามฐานะของแบงก์ต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที ต้องอาศัยทางการเป็นผู้ช่วยดูแลให้เงินฝากของเขามีความมั่นคง ซึ่งเงินฝากก้อนนี้เป็นเงินเก็บออมทั้งชีวิต ถ้ามีปัญหาไป ติดอยู่ ไม่สามารถถอนออกมาได้ ก็จะกระทบกับชีวิตและครอบครัวของเขาอย่างมาก จากนี้ไป ในระบบใหม่ ผู้ฝากรายย่อยจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวนอย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาเพียง 2–3 เดือน หลังจากสถาบันการเงินถูกปิดลง และจะไม่ได้รับการลงโทษไม่ว่าในทางใดใด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้ฝากรายย่อยสามารถฝากเงินได้อย่างไม่ต้องกังวลใจนับแต่นี้ต่อไป

สอง – ดูแลความมั่นคงของสถาบันการเงินโดยรวม ปกติแล้ว ระบบธนาคารพาณิชย์โดยรวมจะอ่อนไหวกับข่าวลือ โดยเฉพาะข่าวลือที่ว่า “มีแบงก์กำลังจะล้ม” เมื่อเกิดความตื่นตระหนก ผู้ฝากเงินก็จะพากันแห่ไปถอนเงินออกมา แบงก์ก็อาจจะล้มไปจริง ๆ (ทั้งที่ไม่ได้มีปัญหา) การคุ้มครองผู้ฝากเงินรายย่อยเต็มจำนวน จะช่วยลดแรงกดดันเรื่องนี้ให้กับสถาบันการเงินได้มากพอสมควร เพราะผู้ฝากเงินที่มีเงินฝากน้อยกว่า 1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึง 98.8% ของผู้ฝากทั้งหมด เมื่อได้รับการคุ้มครองแล้ว การเข้าคิว แห่ถอนเงินจากแบงก์ก็จะไม่เกิดขึ้น สถาบันการเงินโดยรวมก็จะมั่นคงขึ้น

สาม – ป้องกันไม่ให้ปัญหาสะสมตัว ลุกลามมากกว่าจำเป็น โดยผู้ฝากรายใหญ่ (ซึ่งรัฐบาลไม่ได้ค้ำประกันให้กับเงินฝากส่วนที่เกิน 1 ล้าน) ต้องรับผิดชอบตนเองให้มากขึ้น โดยอาศัยข้อมูล ข่าวสาร บทวิเคราะห์ต่าง ๆ เพื่อติดตามฐานะของแบงก์ พยายามถามตนเองอยู่เสมอว่า เราควรฝากเงินที่แบงก์ไหน แบงก์ไหนมีฐานะมั่นคง การบริหารงานที่ไม่สุ่มเสี่ยง ทั้งนี้แม้ผู้ฝากรายใหญ่จะมีจำนวนไม่มากราย แต่เงินฝากของคนเหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนถึง 68% ของฐานเงินฝากทั้งประเทศ เมื่อเขาระมัดระวังในการฝากเงินมากขึ้น ไม่ตายใจอีกต่อไปว่า ยังไงรัฐบาลก็จะมาอุ้มเขา ไม่ฝากที่สถาบันการเงินที่
สุ่มเสี่ยง สถาบันการเงินเหล่านั้นก็ไม่มีเงินที่จะไปปล่อยเสีย ๆ หาย ๆ และเมื่อล้มลงก็จะไม่เป็นปัญหาที่ใหญ่นัก นับเป็นการช่วยกำจัดจุดอ่อนในระบบที่จะทำให้เกิดวิกฤตไปอีกด้วย

ในช่วง 3-4 ปีข้างหน้า ผลกระทบจากการประกาศใช้การคุ้มครองเงินฝากนั้น คงมีไม่มากนัก เพราะว่าเราอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจดี แบงก์มีกำไร มีเงินกองทุนจำนวนมาก ทำให้ฐานะของแบงก์มีความมั่นคงสูง แต่ในระยะยาว ผู้ฝากเงินต้องพยายามดูแลตนเอง ศึกษาให้ดีก่อนที่จะฝากเงิน ก็ขอเอาใจช่วยทุกคนครับ

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันที่ 3 ส.ค. 54
คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ

No Comments

Posted Under My Articles

    • Posts
    • Twitter
    • Flickr
     

    ก้าวให...

    My Articles

     

    ถึงเวล...

    My Articles

     

    ภาพแห่...

    My Articles

    AEC 2015 กับอนาคตเศรษฐกิจไทย http://t.co/3eiOFyZi

    follow me on
    twitter

    A New Crop of Weedsreedsg 1red car grillFantasy Land...Teide_160523_6532Statue of, King Kamehameha the Great - Image 176Lavender Fields, Art Painting / Oil Painting For Sale - Arteet™Seaside Church
  • Pages

    • About
  • Categories

    • My Articles
    • My Interviews
    • My Treasures
    • MY AEC มีทางรวย
    • My Comments
  • Archives

    • 2018
      • January
    • 2017
      • August
    • 2016
      • February
      • June
      • October
    • 2015
      • November
    • 2014
      • January
      • March
      • May
      • June
      • August
      • September
    • 2013
      • January
      • February
      • March
      • April
      • May
      • July
      • August
    • 2012
      • January
      • February
      • April
      • May
      • June
      • July
      • August
      • September
      • October
      • November
      • December
    • 2011
      • January
      • February
      • March
      • April
      • May
      • June
      • July
      • August
      • September
      • October
      • November
      • December
    • 2010
      • January
      • February
      • March
      • April
      • May
      • June
      • July
      • August
      • September
      • October
      • November
      • December
    • 2009
      • March
      • April
      • May
      • June
      • July
      • August
      • September
      • October
      • November
      • December
  • Blogroll

    • Themes
  • Subscribe2


     

  • Who's Online

    4 visitors online now
    2 guests, 2 bots, 0 members
    Map of Visitors

This site is using the Handgloves WordPress Theme
Designed & Developed by George Wiscombe Google+

Subscribe via RSS