BLOG Dr. KOB

Dr. KOBSAK POOTRAKOOL A Macroeconomist

  • BlogArticles
  • Interviewsrecent issues
  • Treasuresfrom the web
  • About

September 29, 2010
Posted by KOBSAK (ADMIN)

ปัญหาการค้าและค่าเงินระหว่างจีนและสหรัฐ

คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร. กอบ

ในสัปดาห์นี้ ปัญหาค่าเงินระหว่างจีนและสหรัฐเริ่มเพิ่มระดับของความร้อนแรงขึ้นอีกครั้ง หลังจากเมื่อ 3-4 เดือนที่แล้ว ความพยายามของสหรัฐที่จะกดดันให้จีนปล่อยค่าเงินของตนแข็งค่าขึ้น ได้นำไปสู่การประกาศให้ค่าเงินหยวนเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระมากขึ้นอีกครั้ง หลังจีนคงค่าเงินหยวนไว้ที่ 6.8 หยวน ต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็นเวลาถึง 2 ปี

รอบนี้ คณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร์ของสหรัฐได้อนุมัติเห็นชอบร่างกฎหมาย “การตอบโต้ทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม” ฉบับใหม่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งในร่างกฎหมายฉบับนี้ สหรัฐจะสามารถนำข้อเท็จจริงเรื่องการที่ประเทศแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนของตนให้ต่ำกว่าปกติเพื่อช่วยผู้ส่งออกให้ได้ความได้เปรียบในเชิงการค้า เป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่การตอบโต้ทางการค้าจากสหรัฐได้

ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร

มาจากความไม่พึงพอใจของคนสหรัฐต่อนโยบายค่าเงินของจีน

(more…)

22 Comments

Posted Under My Articles

September 22, 2010
Posted by KOBSAK (ADMIN)

เกณฑ์ของบาเซิล

คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร. กอบ

ช่วงนี้คนพูดกันมากเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของบาเซิล (BASEL) โดยเฉพาะที่เรียกกันว่าเกณฑ์ BASEL III หลายคนคงสนใจว่าหลักเกณฑ์นี้คืออะไร เกี่ยวกับอะไร และทำไมต้องมี

ความจำเป็นที่ต้องมีเกณฑ์มาตรฐานระหว่างประเทศในการกำกับสถาบันการเงิน

โดยปกติแล้ว แบงก์เป็นธุรกิจการเงินที่มีการแข่งขันกันสูงมาก อีกทั้งยังมีการแข่งขันในลักษณะข้ามพรมแดน ดังเช่นกรณีของ CITI Bank HSBC UBS Credit Suisse Deutsche Bank ฯลฯ ที่เริ่มต้นจากประเทศหนึ่ง แล้วไปเปิดสาขาทำธุรกิจในประเทศอื่นๆ

การแข่งขันข้ามพรมแดนในลักษณะนี้นำมาซึ่งเสียงบ่นกันว่า “ไม่ยุติธรรม”

(more…)

18 Comments

Posted Under My Articles

September 15, 2010
Posted by KOBSAK (ADMIN)

ธนาคารไปรษณีย์

คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร. กอบ

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการพูดกันมากเรื่องการจัดตั้งธนาคารไปรษณีย์ขึ้น เพื่อให้ประชาชนระดับล่าง รวมถึงในชนบท ได้รับบริการทางการเงินอย่างกว้างขวาง

ตั้งธนาคารไปรษณีย์แล้วจะดีจริงหรือไม่?

เพื่อตอบคำถามนี้ คงต้องดูจากประสบการณ์ของประเทศต่างๆ ทั่วโลกในเรื่องนี้ว่าเป็นอย่างไร

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า แนวคิดเรื่องธนาคารไปรษณีย์ไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายประเทศได้จัดตั้งธนาคารไปรษณีย์ขึ้นมา โดยประเทศแรกคืออังกฤษ ซึ่งเริ่มในปี 1861 หรือกว่า 150 ปีที่แล้ว นอกจากนี้ยังมีที่ ญี่ปุ่น เยอรมัน ออสเตรีย ฝรั่งเศส กรีซ แอฟริกาใต้ บราซิล เกาหลี จีน อินเดีย ฟิลิปินส์ เป็นต้น

(more…)

26 Comments

Posted Under My Articles

September 13, 2010
Posted by KOBSAK (ADMIN)

ธนาคารของคนจน

คอลัมน์ อนาคตเศรษฐกิจไทย – หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

หนึ่งในความเชื่อของหลายๆ คนในอดีต ก็คือ “ธุรกิจธนาคารทำกับคนจนไม่ได้กำไร”

ส่วนหนึ่งที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า คนที่มีรายได้น้อยมีเงินเก็บออมไม่มาก ต่อให้ธนาคารรับเงินฝาก หรือปล่อยกู้กับคนเหล่านี้ แต่เนื่องจากขนาดเงินฝากต่อบัญชี รวมไปถึงเงินกู้ต่อบัญชีเล็กมาก ท้ายสุดต้นทุนในการดำเนินการ ในการเปิดบัญชี ในการฝากถอนเงิน ก็จะกินส่วนต่างของดอกเบี้ยที่แบงก์ได้ไปหมด ไม่คุ้มกับการที่จะให้บริการ

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีกลุ่มธนาคารกลุ่มหนึ่งที่เริ่มให้ความสนใจกับการที่จะให้บริการทางการเงินกับลูกค้าในกลุ่มนี้เป็นพิเศษ ซึ่งพบว่าตลาดคนมีรายได้น้อยมีความน่าสนใจ และแบงก์สามารถทำกำไรจากคนกลุ่มนี้เช่นกัน ถ้ารู้จักใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม

ตัวอย่างที่น่าสนใจของธนาคารคนจน

ธนาคารคนจนที่น่าสนใจมีอยู่หลายระดับ ตั้งแต่สถาบันการเงินเล็กๆ ในระดับชุมชนรากหญ้า จนถึงระดับธนาคารพาณิชย์ที่เลือกที่จะลงมาให้บริการกับลูกค้าในกลุ่มนี้อย่างเต็มตัว วันนี้ก็อยากเอาตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จมาเล่าให้ฟัง

(more…)

17 Comments

Posted Under My Articles

September 9, 2010
Posted by KOBSAK (ADMIN)

การปฏิรูประบบการออม และอนาคตเศรษฐกิจไทย

คอลัมน์ อนาคตเศรษฐกิจไทย – หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

หนึ่งในปัญหาใหญ่ที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญในช่วง 20-30 ปีข้างหน้า ก็คือ ปัญหาการออมที่คนส่วนมากของประเทศยังออมไม่เพียงพอ รวมทั้งเข้าไม่ถึงระบบการออมที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยจากการสำรวจพบว่า มีครัวเรือนมากกว่าครึ่งที่ไม่สามารถเก็บออมได้ในแต่ละเดือน และมีครัวเรือนมากกว่าครึ่งที่แม้พอจะมีเงินออมสะสมไว้บ้าง แต่เงินที่ออมไว้ก็เลี้ยงตนเองได้ไม่ถึง 5 ปี

ปัญหาการไม่ออมหรือออมไม่พอนี้ นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อคนไทยอายุยืนขึ้นอย่างต่อเนื่องและประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสังคมชราภาพมากขึ้น โดยในอนาคตประชากรถึงหนึ่งในสามของประเทศจะเป็นผู้ที่สูงอายุ ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราต้องกังวลใจ มาจากสภาพแวดล้อมทางสังคมของไทยที่กำลังเปลี่ยนไป สถาบันหลักที่คอยอุ้มชูผู้สูงอายุเหล่านี้ ทั้งในด้านรายจ่าย อาหาร สุขภาพ ซึ่งก็คือ สถาบันครอบครัว กำลังอ่อนแอลง จากอดีตพ่อแม่มีลูก 3-4 คน ครั้นพ่อแม่มีอายุเข้าสู่ช่วงวัยชรา ลูกๆ ก็มาช่วยกันแบ่งเบาภาระการดูแล แต่ขณะนี้แต่ละครอบครัวมีลูกแค่ 1 คน ภาระก็จะหนักหน่วงขึ้น นอกจากนี้ ค่านิยมสังคมในการเป็นครอบครัวใหญ่ก็เปลี่ยนไปจากเดิมมาก

ในอนาคต ผู้สูงอายุคงจะต้องพึ่งตนเองโดยทำงานมากขึ้นเพื่อหาเลี้ยงชีพ ซึ่งสอดรับกับผลสำรวจที่พบว่ามีคนถึงประมาณ 77% ตอบว่าจะทำงานไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่สามารถทำงานได้ แม้จะเข้าสู่วัยเกษียณแล้วก็ตาม ซึ่งรายได้จากการทำงานจะค่อยๆ ลดลง โดยข้อมูลชี้ว่า มากกว่า 40% ของผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี มีรายได้น้อยกว่า 2,000 บาท/เดือน โดยโอกาสการทำงานก็จะค่อยๆ ลดลงเหลือต่ำกว่า 30% เมื่ออายุถึง 70 ปี ซึ่งไม่น่าจะพอ ชีวิตเป็นไปไม่ได้

ด้วยเหตุนี้ รัฐจะต้องเร่งตีโจทย์เรื่องการออมและสวัสดิการสังคมให้แตก เพื่อที่วางระบบให้ผู้สูงอายุเหล่านี้สามารถเลี้ยงชีพอยู่ได้บนเงินออมที่ตนเองสะสมไว้ บวกกับรายได้บางส่วนที่จะมาจากเงินช่วยเหลือของภาครัฐผ่านประกันสังคม เป็นต้น

(more…)

17 Comments

Posted Under My Articles

September 8, 2010
Posted by KOBSAK (ADMIN)

เศรษฐกิจไทยจากข้อมูลล่าสุด (ก.ค.)

คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร. กอบ

ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดในเดือนกรกฎาคม ทำให้เริ่มเห็นภาพเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี ว่าท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่เริ่มแผ่วตัวลง เศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร

ก่อนอื่นเราคงต้องยอมรับความจริงว่า  เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงในเดือนกรกฏาคม เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปีซึ่งขยายตัวดีมาก โดยภาคการส่งออกที่เคยขยายตัวได้ในอัตรา 41.8% ในช่วงไตรมาสที่ 2 (จนหลายคนดีใจว่าภาคส่งออกเฟื่องฟูอย่างยิ่ง) ได้ปรับลดลงเหลือเพียงครึ่งเดียวคือ 21.2% การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เคยขยายตัว 31.2% ในไตรมาสที่ 1 ได้ลดลงเหลือเพียง 16.3% ยิ่งไปกว่านั้น ยอดการส่งออกและยอดการผลิตในเดือนกรกฎาคมได้ปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าเช่นกัน

แต่การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ

(more…)

5 Comments

Posted Under My Articles

September 1, 2010
Posted by KOBSAK (ADMIN)

ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกง (คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับ ดร. กอบ)

คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร. กอบ

สำหรับปัญหาฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์รอบใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจโลก ภูมิภาคที่น่าจับตามองก็คงไม่พ้นเอเชียแปซิฟิก ที่ราคาอสังหาฯ และที่ดินในบางที่ เช่น สิงคโปร์ เกาะฮ่องกง ออสเตรเลีย ไต้หวัน เริ่มฟื้นตัวอย่างคึกคักใน 1-2 ปีที่ผ่านมา

กรณีที่น่าสนใจ น่าติดตามอย่างใกล้ชิดในกลุ่มนี้ ก็คือ ฮ่องกง หลังจากราคาอสังหาฯ ในเกาะฮ่องกงตกลงไปประมาณ 25% ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลก ในเวลาสั้นๆ เพียง 18 เดือนราคาบ้านในฮ่องกงกลับเพิ่มขึ้นมากกว่า 45.9% ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยโดยรวมขึ้นไปอยู่ในระดับที่สูงมาก อพาร์ตเมนต์ขนาด 120 ตารางเมตร กลางใจเมืองของฮ่องกง มีราคาอยู่ที่ประมาณ 530,000 บาทต่อตารางเมตร แพงที่สุดในเอเชีย แพงยิ่งกว่าญี่ปุ่นและสิงคโปร์ และบางพื้นที่เช่น The Peak มีราคาสูงมากกว่า 1 ล้านบาท/ตารางเมตร

(more…)

42 Comments

Posted Under My Articles

    • Posts
    • Twitter
    • Flickr
     

    ก้าวให...

    My Articles

     

    ถึงเวล...

    My Articles

     

    ภาพแห่...

    My Articles

    AEC 2015 กับอนาคตเศรษฐกิจไทย http://t.co/3eiOFyZi

    follow me on
    twitter

    EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-15EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-7EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-28EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-23EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-3EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-9EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-6EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-19EPMG Fixed Focal and no edit February 2019-25
  • Pages

    • About
  • Categories

    • My Articles
    • My Interviews
    • My Treasures
    • MY AEC มีทางรวย
    • My Comments
  • Archives

    • 2018
      • January
    • 2017
      • August
    • 2016
      • February
      • June
      • October
    • 2015
      • November
    • 2014
      • January
      • March
      • May
      • June
      • August
      • September
    • 2013
      • January
      • February
      • March
      • April
      • May
      • July
      • August
    • 2012
      • January
      • February
      • April
      • May
      • June
      • July
      • August
      • September
      • October
      • November
      • December
    • 2011
      • January
      • February
      • March
      • April
      • May
      • June
      • July
      • August
      • September
      • October
      • November
      • December
    • 2010
      • January
      • February
      • March
      • April
      • May
      • June
      • July
      • August
      • September
      • October
      • November
      • December
    • 2009
      • March
      • April
      • May
      • June
      • July
      • August
      • September
      • October
      • November
      • December
  • Blogroll

    • Themes
  • Subscribe2


     

  • Who's Online

    4 visitors online now
    2 guests, 2 bots, 0 members
    Map of Visitors

This site is using the Handgloves WordPress Theme
Designed & Developed by George Wiscombe Google+

Subscribe via RSS